เมนู

ลึกซึ้ง เพราะเห็นได้ยาก และชื่อว่า เห็นได้ยาก เพราะความลึกซึ้ง
ด้วยประการฉะนี้ จึงตรัสเรียกว่า อวิชชา.
บทว่าด้วยนิเทศอวิชชา จบ

ว่าด้วยนิเทศสังขาร

(บาลีข้อ 257)
พึงทราบวินิจฉัยในบทแห่งสังขาร ต่อไป
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงเฉพาะสังขารที่มีอวิชชาเป็นปัจจัย
เท่านั้น ไม่ทรงพาดพิงสังขารที่มาด้วยสังขารศัพท์ ในสังขารตามที่ตรัสไว้ใน
หนหลัง จึงตรัสคำว่า ตตฺถ กตเม อวิชฺชาปจฺจยา สํขารา ปุญฺญภิ-
สํขาโร
บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
เป็นไฉน ? ปุญญาภิสังขาร ดังนี้เป็นต้น.
ในพระบาลีนั้น สภาวะที่ชื่อว่า บุญ เพราะอรรถว่า ย่อมชำระ
กรรมอันเป็นการทำของตน คือ ย่อมยังอัชฌาศัยของผู้กระทำตนนั้นให้บริบูรณ์
และยังภพอันน่าบูชาให้เกิดขึ้น. ที่ชื่อว่า อภิสังขาร เพราะอรรถว่า ย่อม
ปรุงแต่งวิบาก และกฏัตตารูป. อภิสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่ง) คือ บุญ
ชื่อว่า ปุญญาภิสังขาร. สภาพที่ชื่อว่า อปุญฺโญ (อบุญ) เพราะเป็น
ปฏิปักษ์ต่อบุญ. อภิสังขารคืออบุญ ชื่อว่า อปุญญาภิสังขาร. ที่ชื่อว่า
อาเนญชะ เพราะอรรถว่า ย่อมไม่หวั่นไหว. ที่ชื่อว่า อาเนญชาภิสังขาร
เพราะอรรถว่า อภิสังขารคืออาเนญชะ (ความไม่หวั่นไหว) และสภาพที่ปรุงแต่ง
ภพอันไม่หวั่นไหว. ที่ชื่อว่า กายสังขาร เพราะอรรถว่า เป็นสังขาร
(การปรุงแต่ง) อันกายให้เป็นไป หรือเพราะกาย หรือเป็นไปแก่กาย แม้ใน
วจีสังขารและจิตสังขาร ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ในสังขารเหล่านั้น สังขาร 3 แรก ทรงถือเอาด้วยอำนาจแห่ง
ปริวิมังสนสูตร จริงอยู่ ในสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า หากว่า
บุคคลย่อมปรุงแต่งสังขาร
(สภาพปรุงแต่ง) ที่เป็นบุญ วิญญาณก็เข้า
ถึงความเป็นบุญ หากว่า บุคคลย่อมปรุงแต่งสังขารที่เป็นอบุญ
วิญญาณก็เข้าถึงความเป็นอบุญ (บาป) หากว่า บุคคลย่อมปรุงแต่ง
สังขารที่เป็นอาเนญชะ วิญญาณก็เข้าถึงความเป็นอาเนญชะ
ดังนี้.
สังขาร 3 ที่สอง ทรงถือเอาด้วยอำนาจแห่งวิภังคสูตรอันเป็นลำดับแห่งปริวิมัง-
สนสูตรนั้น แม้กล่าวว่าทรงถือเอาโดยปริยายแห่งสัมมาทิฏฐิสูตร ดังนี้ ก็ควร
เหมือนกัน. เพราะในวิภังคสูตรนั้น ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขาร
3 เหล่านี้ สังขาร 3 เป็นไฉน ? กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร

ดังนี้.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร จึงทรงถือเอาสังขารเหล่านั้นด้วยอำนาจแห่ง
สูตรเหล่านั้นเล่า.
ตอบว่า เพื่อแสดงบทนี้ว่า ธรรมดาพระอภิธรรมนี้ พระผู้มี-
พระภาคเจ้ามิได้ทรงกระทำไว้ในบัดนี้ พวกฤาษีภายนอก หรือพวก
พระสาวก หรือพวกเทวดามิได้ภาษิตไว้ ก็พระอภิธรรมนี้เป็นภาษิต
ของพระชินเจ้าผู้เป็นสัพพัญญูพุทธะ เพราะในพระอภิธรรมก็ดี
ในพระสูตรก็ดี เป็นพระบาลีแบบแผนที่ยกขึ้นแสดงออกเป็นเช่น
เดียวกันทั้งนั้น
ดังนี้.

ว่าด้วยปุญญาภิสังขาร


บัดนี้ เพื่อทรงแสดงสังขารเหล่านั้นโดยชนิดต่าง ๆ จึงตรัสคำมีอาทิว่า
คติถ กตโม ปุญฺญาภิสํขาโร ในสังขารเหล่านั้น ปุญญาภิสังขารเป็นไฉน ?
ในพระบาลีนั้น แม้เจตนาที่เป็นไปในภูมิ 4 ตรัสโดยไม่กำหนด
ไว้ว่า เจตนาที่เป็นกุศล แต่เพราะทรงกำหนดว่า กามาวจร รูปาวจร
ดังนี้ เจตนา 13 ดวง คือ กามาวจรกุศลเจตนา 8 ดวง และรูปาวจรกุศล-
เจตนา 5 ดวง ชื่อว่า ปุญญาภิสังขาร. ด้วยบททั้งหลายว่า ทานมยา
(ทานมัย) เป็นต้น ทรงแสดงความเป็นไปด้วยสามารถแห่งบุญกิริยาวัตถุแห่ง
เจตนาเหล่านั้นนั่นเอง.
ในพระบาลีนั้น เจตนา 8 ดวงเป็นกามาพจรย่อมสำเร็จด้วยทานและ
ศีลเท่านั้น แต่เจตนาแม้ทั้ง 13 ดวง สำเร็จด้วยภาวนา เปรียบเหมือนบุคคล
สาธยายธรรมคล่องแคล่ว ย่อมไม่รู้ซึ่งธรรมที่เป็นไปแม้สนธิหนึ่ง แม้สนธิ
สอง เมื่อนึกถึงจึงรู้ในภายหลัง ฉันใด เมื่อพระโยคาวจรกระทำกสิณบริกรรม
พิจารณาฌานที่เกิดคล่องแคล่ว และเมื่อมนสิการกรรมฐานที่ชำนาญก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เจตนาแม้ปราศจากญาณ ก็ย่อมสำเร็จเป็นภาวนา ด้วยเหตุนั้น
ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า เจตนาแม้ทั้ง 13 ดวง สำเร็จด้วยภาวนา ดังนี้.
ในเทศนานั้น เทศนานี้เป็นเทศนาโดยย่อในบุญกิริยาวัตถุมีทานเป็นต้น
ว่า เจตนา สัญเจตนา (ความตั้งใจ) ความคิดปรารภทาน ทำทานให้เป็น
ใหญ่ อันใด ย่อมเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปุญญาภิสังขารสำเร็จด้วยทาน
เจตนา ความตั้งใจ ความคิด ปรารภศีล ฯลฯ ปรารภภาวนาทำภาวนาให้
เป็นใหญ่อันใด นี้เรียกว่า ปุญญาภิสังขารสำเร็จด้วยภาวนา ดังนี้.